MSTMED

ข่าว และ บทความ


DEK67 เตรียมสอบหมอ

22 มีนาคม 2566 Panjawo MST 0 แนะนำคอร์สเรียน

#DEK67 เตรียมสอบหมอyes

สวัสดีครับน้องๆ เหล่าสหายผู้ที่อยากเป็นหมอ...วันนี้พี่จะมาแนะแนวทางการที่เราจะกลายไปเป็นหมอ แน่นอน เส้นทางนั้นยากลำบาก แต่ถ้าน้องๆ อ่านบทความนี่จบ พี่เชื่อว่าน้องๆ จะมองเห็นทางที่ชัดเจนยิ่งขึ้น หวังว่าจะทำให้โอกาสติดคณะในฝันของน้องๆ มีเพิ่มขึ้นแน่นอน โดยพี่จะขอแบ่งบทความนี้ออกเป็น 2 part หลักๆ

enlightenedPART 1 : TCAS67 สรุปมีกี่รอบ?
enlightenedPART 2 : การเตรียมตัวที่ไม่เคยมีใครกล้าบอกน้องๆมาก่อน

yes PART1 

ก่อนอื่นน้องต้องมารู้จักระบบ TCAS กันก่อนครับ TCAS คือระบบการรับนักเรียนเข้ามหาวิทยาลัยในไทยในปัจจุบัน ซึ่งจะต่างจากอดีตที่ผ่านมา เช่น entrance โดย TCAS67 ของน้องจะประกอบด้วย 4 รอบใหญ่ๆ คือรอบ 1-4  โดยสิ่งที่สำคัญจะมีอยู่ว่า ถ้าน้องสอบติดรอบ 1 แล้วยืนยันสิทธิ์รอบที่ 1 น้องจะไม่มีสิทธิ์ในการสอบรอบที่ 2 3 4  แต่ถ้าน้องอยากจะสอบรอบ 2 3 4 น้องต้องทำการสละสิทธิ์รอบที่ 1 พูดง่ายๆคือ ระบบนี้จะป้องกันไม่ให้น้องกั๊กที่ของคนอื่นๆ ถ้าจะเอาแล้วต้องเอาเลย จะจับปลาสองมือไม่ได้ครับ ดังนั้น ถ้าเกิดเรามุ่งเป้าไว้ที่ TCAS รอบ3 (กสพท.) อย่างแน่นอนแล้ว ก็ไม่จำเป็นจะต้องไปสอบ TCAS รอบ1 ให้เสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย อีกทั้งจะทำให้เรามีสมาธิ มุ่งมั่นไปกับการสอบรอบที่ 3 โดยตรง  

แล้ว TCAS ในแต่ละรอบ มีอะไรบ้างล่ะ

TCAS รอบ 1 : Portfolio  พูดชื่อน้องๆก็รู้แล้วว่าต้องใช้พอร์ตโฟลิโอ แต่ว่าจะใช้พอร์ตอย่างเดียวไม่ได้ ต้องใช้ร่วมกับคะแนน BMAT , TOEFL , IELTS , SAT ในบางที่จะใช้คะแนน GPAX ร่วมด้วย ซึ่งน้องๆที่เหมาะกับรอบนี้ก็คือน้องที่มีความถนัดทางด้านภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี มีการทำกิจกรรมพิเศษ มีความสามารถพิเศษ ผ่านการเข้าค่ายโอลิมปิกวิชาการในรอบลึกๆ ในระบบนี้ค่าสมัครสอบค่อนข้างสูง โดยรวมๆแล้วจะใช้ค่าใช้จ่ายสูงถึงหมื่นกว่าบาทเลยทีเดียว
มหาวิทยาลัยที่เปิดรับ : คณะแพทยศาสตร์ จุฬา รามา ศิริราช มศว มธ มช มข มอ (รอประกาศอัพเดตอีกที)

TCAS รอบ 2 : รอบโควตา  สำหรับน้องๆที่อยู่ต่างจังหวัด จะมีโควตาพิเศษในแต่ละจังหวัดเพื่อที่จะสอบแข่งขันกันเองในจังหวัดนั้นๆ หลักการคือดูว่าจังหวัดของน้องจะได้สิทธิสอบที่มหาวิทยาลัยไหน แล้วเปิดดูที่เว็ปไซต์ของมหาวิทยาลัยนั้นว่าจะต้องใช้ข้อมูลอะไรบ้าง ต้องสอบอะไรเป็นพิเศษหรือไม่ แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้คะแนนA-level (9 วิชาสามัญ) กับ TPAT1 ความถนัดทางการแพทย์ รวมไปถึงTGAT-TPAT มีการสอบสัมภาษณ์ โดยเกณฑ์ต่างๆจะขึ้นกับแต่ละมหาวิทยาลัยครับ

TCAS รอบ 3 : กสพท. (Admission1) ป็นรอบที่รับเยอะที่สุด คนสมัครกันเยอะที่สุด แต่ก็แลกมาด้วยอัตราการแข่งขันที่สูงมากๆเหมือนกัน โดยในรอบนี้น้องสามารถเลือกคณะที่อยากเข้าได้ถึง 10 อันดับว่าอยากจะเข้าคณะไหนมากที่สุด โดยสิ่งที่ต้องสอบในรอบนี้คือ A-level (วิชาสามัญ) (ซึ่งคิดเป็น 70% โดยกำหนดไว้ว่าคะแนนในแต่ละกลุ่มวิชาต้องได้มากกว่า 30%) และ TPAT1 ความถนัดทางการแพทย์ (คิดเป็น30%) ซึ่งในปัจจุบันจะมีการเปิดเผยคะแนนที่น้องสอบได้ก่อน แล้วถึงจะให้ตัดสินใจเลือกอันดับ ซึ่งแน่นอนครับว่าการเลือกอันดับนี้ค่อนข้างที่จะตัดสินอนาคตของน้องได้เลยทีเดียว

TCAS รอบ 4 : รับตรงอิสระ เก็บตกรอบสุดท้าย รอบนี้ค่อนข้างเปลี่ยนแปลงไปมาได้ตลอด ขึ้นกับประกาศแต่ละปี พี่แนะนำว่าให้ฝากความหวังไว้กับรอบ 1 2 3 จะชัวร์ที่สุด

 


yesPART 2 : การเตรียมตัวอ่านหนังสือ

          สำหรับน้องๆ ม.4/ม.5 พี่ขอแนะนำให้เก็บวิชาหลักให้พร้อมโดยเน้นไปที่หนังสือของสสวท.เป็นหลัก โดยควรเตรียมตัวล่วงหน้าให้มีความรู้ของ ม.4-6 ก่อนที่จะเปิดเทอม ม.6เทอม 1 ซึ่งในความเป็นจริงค่อนข้างยาก แต่ถ้าน้องทำได้แล้วล่ะก็ โอกาสการสอบติดของน้องจะสูงกว่าคนอื่นๆแน่นอน แต่ถ้าไม่ทันจริงๆ ก็ขอให้เรียนจบให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ วิชาที่ไม่ชอบ ห้ามทิ้ง แต่เอาช่วงเวลานี้ไปทำความเข้าใจกับมันมากขึ้น อัพคะแนนให้มันขึ้นมา เพราะอย่าลืมว่าในการสอบA-level ถ้าหากมีวิชาใดได้น้อยกว่า 30% น้องจะหมดโอกาสในการยื่นกสพท.ปีนั้นไปโดยปริยาย
           สำหรับน้อง ม.6 ปีสุดท้ายแล้วนะครับ น้องเลือกได้ว่าจะอดทนสู้อีก 1 ปี เพื่อทำตามความฝันที่น้องต้องการรึเปล่า พี่เข้าใจนะว่ามันยากและเหนื่อยมากๆในปีนี้ ไหนจะงานที่โรงเรียน ดังนั้นเราต้องบริหารเวลาให้คุ้มค่าที่สุดครับ ไหนจะสอบA-level เดือนมีนา และ TPAT1 ความถนัดทางการแพทย์ กสพท. (วิชานี้จะสอบเร็วกว่าคือช่วงเดือนธันวาคม) แต่พี่เชื่อว่าน้องๆของพี่ทุกคนจะผ่านมันไปได้นะ ความยากก็คือ ถามตัวเองก่อนว่า พร้อมสอบรึยัง ถ้าไม่พร้อม ต้องดูว่าตัวเองขาดตกบกพร่องตรงไหน ถ้าเนื้อหาไม่พร้อม ต้องรีบเก็บให้ครบ เอาให้พร้อมให้เร็วที่สุด หลักการอ่านหนังสือที่พี่เคยใช้นะ วันจันทร์ถึงวันศุกร์ เลือกอ่านวิชาที่ตัวเองชอบและถนัด ในขณะที่วันเสาร์กับอาทิตย์จะอ่านวิชาที่ตัวเองไม่ถนัด หรือต้องจำมันเยอะๆ พยายามทบทวนเนื้อหาเก่าๆของม.4 ม.5 ด้วยนะครับ พี่บอกน้องที่เคยเรียนกับพี่ทุกคนว่า พยายามเก็บวิชาคำนวณ เช่น เลข ฟิสิกส์ เคมี ให้แม่นให้พร้อมสอบภายในเดือนมกราคม ส่วนวิชาแนวท่องจำเช่น สังคม ชีวะ ให้พร้อมสอบภายในเดือนกุมภาพันธ์ครับ ส่วนภาษาอังกฤษพี่อยากจะให้น้องพี่ทุกคน ฝึกมันทุกวันนะครับ ในส่วนของความถนัดแพทย์พี่แนะนำว่า น้องควรจะเรียนตอนม.5 หรือม.6 โดยพยายามเรียนก่อนหนึ่งรอบให้รู้ว่ามันจะออกข้อสอบอะไรบ้าง แล้วกลับมาเรียนซ้ำอีกรอบนึงช่วงใกล้สอบ สำหรับน้องๆคนไหนที่เรียนกับพี่อยู่แล้ว เดี๋ยวใกล้สอบเราจะมาเกร็งข้อสอบด้วยกันอีกรอบนึงนะครับ อย่าลืมว่าที่เด็กส่วนใหญ่ทำข้อสอบกันไม่ได้ ไม่ใช่เพราะมันยาก แต่เพราะว่าอ่านไม่ทัน ดังนั้นวิชาคำนวณ การทำข้อสอบเก่าๆ จะช่วยให้เราทบทวนสูตรได้ไปในตัว ในขณะที่วิชาเช่น ชีวะ สังคม โจทย์ค่อนข้างหลากหลาย พยายามอ่านเนื้อหาทำความเข้าใจให้ได้เยอะที่สุด เพราะเราไม่รู้เลยว่าในปีของเราโจทย์มันจะออกไปทางไหน


SPACIAL PARTheart

สำหรับน้องๆ ที่ยังสงสัย หรือมีคำถามก็ทักมาสอบถามได้เลย
หรืออยากลงคอร์สเรียนต่างๆ เพื่อเตรยมตัวตามความฝันพี่ยินดีแนะนำคร้าบบบบบ

 


สนใจสมัครคอร์สเรียน

ทักแชทขอคำปรึกษารายวิชาได้เลย

ID line : @mstmed
โทร. 064-636-4198

#แพทย์, #เข้าเแพทย์, #อยากเป็นหมอ, #สอบหมอ, #ติวเข้าหมอ, #เตรียมตัวเข้าหมอ, #เตรียมสอบหมอ, #DEK67, #หมอ67, #TCAS,

ที่เกี่ยวข้อง ข่าว

ยังไม่มีความคิดเห็น คุณเป็นคนแรกที่แสดงความเห็น