สรุป ! หลักจริยธรรมที่สำคัญ สำหรับเตรียมสอบความถนัดแพทย์
สรุป ! หลักจริยธรรมที่สำคัญ สำหรับเตรียมสอบความถนัดแพทย์
1. ถ้าฉุกเฉินต้องช่วยเสมอ
ถ้าผู้ป่วยกำลังอยู่ในภาวะฉุกเฉินที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ต้องช่วยเสมอ แม้ว่าผู้ป่วย และญาติจะไม่ร้องขอให้ช่วยเหลือก็ตาม
2. ฟังผู้ป่วยก่อนญาติเสมอ
คนที่มีสิทธิทราบข้อมูลผู้ป่วย ตัดสินใจในการเลือกการรักษา หรือตัดสินใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการรักษา คือตัว ผู้ป่วยเองเท่านั้น ! ไม่ใช่
3. ลำดับการรักษากรณีที่มีผู้ป่วยหลายคน
1. ผู้ป่วยฉุกเฉิน
2. ผู้ป่วยที่มาก่อน
**ดังนั้นแม้จะมาก่อนแต่ถ้าอยู่ดี ๆ มีผู้ป่วยฉุกเฉินมา แพทย์ก็ต้องไปดูผู้ป่วยฉุกเฉินก่อน**
4. แพทย์ต้องรักษาความลับผู้ป่วย
เป็นหน้าที่แพทย์ในการรักษาความลับผู้ป่วยเสมอ
- ไม่ว่าจะโดยการไม่พูดคุยเรื่องผู้ป่วยในที่สาธารณะ
- ไม่ถ่ายรูปผู้ป่วยหรือแฟ้มประวัติผู้ป่วย
- ไม่ให้เอกสารประวัติที่มีความลับผู้ป่วยแก่ผู้อื่นเช่นญาติ หรือบริษัทประกัน(ยกเว้นจำเป็น)
5. ไม่ควรรักษาผู้ป่วยโดยฟังอาการจากญาติ
แพทย์ไม่ควรสั่งการรักษาโดยการไม่เห็นตัวผู้ป่วย แต่ฟังอาการจากญาติอย่างเดียวแม้ว่าญาติจะอ้างว่าผู้ป่วยมาโรงพยาบาลไม่ได้ด้วยเหตุผลต่าง ๆ นานาก็ตาม
6. แพทย์ไม่ควรคบเชิงชู้สาวกับผู้ป่วย
ความสัมพันธ์ในเชิงชู้สาวระหว่างแพทย์ กับผู้ป่วยถือเป็นสิ่งที่ไม่สมควร และผิดจริยธรรมของแพทย์
7. ถ้าสงสัยเด็กถูกพ่อแม่ทำร้ายควรให้เด็กนอนรพ.
ถ้าเจอโจทย์แนวพ่อแม่พามาหาหมอ บอกว่าล้ม แต่ตรวจแล้วสงสัยว่าเด็กถูกทำร้ายร่างกาย แพทย์ควรจะต้องให้เด็กนอนในโรงพยาบาล เพื่อเป็นการแยกพ่อแม่ออกจากเด็ก ทำให้ไม่ถูกทำร้ายก่อน
8. กรณีที่ทำแท้งได้โดยไม่ผิดฏหมาย
- ต้องทำโดยแพทย์
- การตั้งครรภ์นั้นมีอันตรายต่อหญิงคนดังกล่าว
- การตั้งครรภ์นั้นเกิดจากการทำความผิดทางอาญา เช่น ถูกข่มขื่น
9. ทำผิดต้องยอมรับผิด
เมื่อแพทย์ทำผิดต้องยอมรับผิด และรับผิดชอบผลที่จะตามไม่ เช่น กรณีให้ยาผิด เผลอไปให้ยาที่สงสัยว่าผู้ป่วยแพ้ ก็ควรจะต้องแจ้งผู้ป่วยโดยตรงถึงความผิดพลาด ไม่ใช่เงียบไว้ หรือให้ยาแก้แพ้ทันที
10. เรื่องสำคัญไม่ควรคุยทางโทรศัพท์
แพทย์ไม่ควรแจ้งเรื่องสำคัญ ๆ ของผู้ป่วยทางโทรศัพท์ หรือแม้แต่การพูดคุยเกี่ยวกับการรักษาที่สำคัญ ๆ ที่จำเป็นต้องตัดสินใจก็ควรให้ผู้ป่วยเข้ามาคุยด้วยตนเองที่โรงพยาบาลจะเหมาะสมกว่า
11. ควรแจ้งข้อมูลก่อนทำหัตถการใดๆเสมอ
ก่อนที่แพทย์จะทำหัตถการใด ๆ กับผู้ป่วย หรือจะผ่าตัดผู้ป่วย แพทย์ควรแจ้งข้อมูลทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นผลดี ผลแทรกซ้อน ความเสี่ยง ทางเลือกการักษาอื่น ๆ กับผู้ป่วยให้รับทราบก่อนเสมอ
12. กรณีที่ไม่ได้อยู่เวรแต่ถูกโทรตาม
กรณีที่ไม่ได้อยู่เวรแต่ถูกโทรตาม เพราะพยาบาลตามหมอเวรไม่ได้ ถ้าเป็นเคสฉุกเฉิน แล้วเราพอจะว่างอยู่ ก็ควรที่จะไปดูและให้การรักษาในเบื้องต้นไปก่อน แล้วจึงค่อย ๆ พยายามตามแพทย์เวร
13. การออกใบรับรองแพทย์
แพทย์สามารถออกใบรับรองแพทย์ตามจริงได้เท่านั้น เช่น มาตรวจจริงวันนี้ ก็ลงความเห็นได้ว่ามาตรวจจริงวันนี้ หรือ ตรวจแล้วพบว่าอาการหนักพอสมควร ควรหยุด 3 วัน ก็ลงความเห็นตามนั้น ห้ามลงความเห็นไม่จริง เช่น ผู้ป่วยขอหยุด 15 วัน แต่อาการไม่หนักแพทย์คิดว่าควรหยุด 3 วัน ก็ต้องเขียนตามจริงคือ 3 วันนะ
14. กฏหมายมาก่อนเสมอ
- กฏหมาย
- ศีลธรรม จารีต ประเพณี
- อารมณ์ความรู้สึกส่วนตัว เช่น สงสาร
**ลำดับหลักการคิด ควรจะเรียงตามนี้นะ**
ถ้าหากมีน้องๆท่านใดสนใจสมัครเข้าเรียน สามารถแชทมาถามรายละเอียดวิชาต่างๆ ได้เลยนะคะ.
ID line : @mstmed
โทร. 064-636-4198#แพทย์, #เข้าเแพทย์, #อยากเป็นหมอ, #สอบหมอ, #ติวเข้าหมอ, #เตรียมตัวเข้าหมอ, #เตรียมสอบหมอ, #DEK67, #หมอ67, #TCAS
ยังไม่มีความคิดเห็น คุณเป็นคนแรกที่แสดงความเห็น